วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559

อาเซียน

1.ประชาคมอาเซียนมี่ทั้งหมดกี่ประเทศ
ที่มา   http://www.thai-aec.com




ธงชาติบรูไน
























1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จุดแข็ง
– การเมืองค่อนข้างมั่นคง
– รายได้เฉลี่ยต่อคนเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน อันดับ 26 ของโลก
– ผู้ส่งออกและมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ในอาเซียน
ข้อควรรู้
– ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ สามารถอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์
– ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
– การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
– การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
– จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
– สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
– วันหยุดคือวันศุกร์และวันอาทิตย์, วันศุกร์ 12.00-14.00 น.ทุกร้านจะปิด
– จัดงานเย็นต้องจัดหลัง 2 ทุ่ม
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–


















2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)

เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน
– มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์
ข้อควรรู้
– ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
– เพื่อนผู้ชายจับมือกัน ถือเป็นเรื่องปกติ
– ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง
– ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย
– สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–



















3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)

เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อควรรู้
– ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
– นิยมใช้มือกินข้าว
– ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน
– ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
– การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
– บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
– มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีมิเตอร์
– งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–


















4.ประเทศลาว (Laos)

เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำอันดับ 2 ในอาเซียน
– การเมืองมีเสถียรภาพ
ข้อควรรู้
– ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
– ลาวขับรถทางขวา
– ติดต่อราชการต้องนุ่งซิ่น
– เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้มหัว
– ถ้าเพื่อนคนลาวเชิญไปพักที่บ้านห้ามให้เงิน
– อย่าซื้อน้ำหอมให้กัน
– ที่ถูกต้องคนลาวที่ให้พัก ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน
– เข้าบ้านต้องถอดรองเท้า และถ้าเขาเสิร์ฟน้ำต้องดื่ม
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–


















5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค
– มีปริาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
– ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
– มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
– ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ
– เครื่องดื่มแอลกฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–












6.ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)

เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
จุดแข็ง
– มีพรมแดนเชื่อมต่อกับจีน และอินเดีย
– ค่าจ้างแรงงานต่ำเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน
– มีปริมาณก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
ข้อควรรู้
– ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง กับคนไม่คุ้นเคย
– เข้าวัดต้องถอดรองเท้า ถุงเท้า
– ห้ามเหยียบเงาพระสงฆ์
– ให้นามบัตรต้องยื่นให้สองมือ
– ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น กางเกงขาสั้น ในสถานที่สาธารณะและศาสนสถาน
– ผู้หญิงชอบทาทะนาคา (ผู้ชายก็ทาด้วย) ผู้ชายชอบเคี้ยวหมาก
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–






















7.ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)

เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– แรงงานทั่วไป ก็มีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้
ข้อควรรู้
– การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น
– เท้าสะเอว หมายถึง ท้าทาย, เลิกคิ้ว หมายถึง ทักทาย
– ใช้ปากชี้ของ
– กินข้าวบ้านเพื่อนสามารถห่อกลับได้ แต่ควรมีของฝากให้เขาด้วย
– ตกแต่งบ้าน 2 เดือน ต้อนรับคริสต์มาส
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–


















8.ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)

เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
จุดแข็ง
– รายได้เฉลี่ยต่อคน เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 15 ของโลก
– แรงงานมีทักษะสูง
ข้อควรรู้
– หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
– การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
– การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
– ขึ้นบันไดเลื่อนให้ชิดซ้าย
– ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด, ห้ามเก็บผลไม้ในที่สาธารณะ
– ผู้สูงอายุทำงาน ถือเป็นเรื่องปกติ
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
เกร็ดความรู้อื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–


9.ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
– หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
– เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
– คดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
– ตีกลองแทนออดเข้าเรียน
– ชุดนักเรียนหญิงเป็นชุดอ่าวหญ่าย
– คนภาคเหนือไม่ทานน้ำแข็ง
– ไม่ถ่ายรูป 3 คนอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าจะทำให้เบื่อกัน หรือแแยกกันหรือใครคนใดเสียชีวิต
– ต้องเชิญผู้ใหญ่ก่อนทานข้าว
ข้อมูลประเทศและการลงทุนฉบับเต็ม คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–
ข้อมูลด้านอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ –>> Download <<–


















10.ประเทศไทย (Thailand)

เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จุดแข็ง
– เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน
– มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง
ข้อควรรู้
– ไปศาสนสถานควรแต่งกายเรียบร้อย, ก่อนเข้าอุโบสถต้องถอดรองเท้า
– ห้ามพระสงฆ์สัมผัสสตรี
– สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสัการะ การละเมิดใดๆ ถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ
– ทักทายกันด้วยการไหว้
– ถือว่าเท้าเป็นของต่ำ ไม่ควรพาดบนโต๊ะ หรือเก้าอี้ หรือหันทิศทางไปที่ใคร
– ธงชาติถือเป็นของสูง ไม่ควรนำมากระทำการใดๆที่เป็นการเหยียดหยาม
– การแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ ยังไม่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมไทย

2.ประชาคมอาเซียนที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดคือประเทศ

อะไร

ที่มา http://hilight.kapook.com/view/77001

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ได้ก่อตั้งขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มอำนาจ และขีดความสามารถการ ในการต่อรองทางเศรษฐกิจ บนเวทีการแข่งขันระหว่างประเทศ ตลอดจนก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศในภูมิภาคนี้ไปพร้อม ๆ กัน

          ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน ดารุสซาลาม เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งการที่ประเทศสมาชิกจะช่วยกันขับเคลื่อนอาเซียนเข้าไปแข่งขันกับเวทีเศรษฐกิจระดับโลกได้นั้น ประชากรในแต่ละประเทศก็ถือเป็นบุคลากรสำคัญที่จะช่วยพัฒนาให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
          จากผลการสำรวจจำนวนประชากรกลางปี 2544 ที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่ไว้ พบว่า ประชากรโลกมีจำนวนกว่า 6,987 ล้านคน ขณะที่ในระดับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอาเซียน มีประชากรประมาณ 601 คน ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่ห่างกันหลายเท่าตัว และเมื่อดูจำนวนประชากรเป็นรายประเทศ แล้วพบว่าในประเทศสมาชิก มีจำนวนประชากรที่แตกต่างกันไป ดังนี้ 

          รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam) มีประชากร ประมาณ 4 แสนคน

          ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) มีประชากร ประมาณ 15 ล้านคน

          สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) มีประชากร ประมาณ 238 ล้านคน 

          สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People's Democratic Republic) มีประชากร ประมาณ 6.3 ล้านคน 

          มาเลเซีย (Malaysia) มีประชากร ประมาณ 28.9 ล้านคน 

          สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (The Republic of the Union of Myanmar) มีประชากร ประมาณ 54 ล้านคน

          สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) มีประชากร ประมาณ 95.7 ล้านคน 

          สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore) มีประชากร ประมาณ 5.2 ล้านคน 

          ราชอาณาจักรไทย (Thailand) มีประชากร ประมาณ 69.5 ล้านคน 

          สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam) 87.9 ล้านคน

          ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ในแง่ของจำนวนประชากรอาเซียน ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด ได้แก่ อินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรถึง 238 ล้านคน ขณะที่ บรูไน ดารุสซาลาม มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด เพียง 4 แสนคน ทั้งนี้ แม้จะมีความแตกต่างในด้านของขนาดประชากรอย่างชัดเจน แต่เมื่อลงนามความร่วมมือในนามของอาเซียนแล้ว ประเทศสมาชิกก็ต้องช่วยกันผลักดันเพื่อให้ทุกประเทศสามารถก้าวไปข้างหน้าพร้อมกันได้อย่างเท่าเทียม
3.ประชาคมอาเซียนที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดคือประเทศอะไร

ที่มา http://hilight.kapook.com/view/77001




สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ได้ก่อตั้งขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มอำนาจ และขีดความสามารถการ ในการต่อรองทางเศรษฐกิจ บนเวทีการแข่งขันระหว่างประเทศ ตลอดจนก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศในภูมิภาคนี้ไปพร้อม ๆ กัน
          ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน ดารุสซาลาม เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งการที่ประเทศสมาชิกจะช่วยกันขับเคลื่อนอาเซียนเข้าไปแข่งขันกับเวทีเศรษฐกิจระดับโลกได้นั้น ประชากรในแต่ละประเทศก็ถือเป็นบุคลากรสำคัญที่จะช่วยพัฒนาให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
          จากผลการสำรวจจำนวนประชากรกลางปี 2544 ที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่ไว้ พบว่า ประชากรโลกมีจำนวนกว่า 6,987 ล้านคน ขณะที่ในระดับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอาเซียน มีประชากรประมาณ 601 คน ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่ห่างกันหลายเท่าตัว และเมื่อดูจำนวนประชากรเป็นรายประเทศ แล้วพบว่าในประเทศสมาชิก มีจำนวนประชากรที่แตกต่างกันไป ดังนี้ 

          รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam) มีประชากร ประมาณ 4 แสนคน

          ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) มีประชากร ประมาณ 15 ล้านคน

          สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) มีประชากร ประมาณ 238 ล้านคน 

          สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People's Democratic Republic) มีประชากร ประมาณ 6.3 ล้านคน 

          มาเลเซีย (Malaysia) มีประชากร ประมาณ 28.9 ล้านคน 

          สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (The Republic of the Union of Myanmar) มีประชากร ประมาณ 54 ล้านคน

          สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) มีประชากร ประมาณ 95.7 ล้านคน 

          สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore) มีประชากร ประมาณ 5.2 ล้านคน 

          ราชอาณาจักรไทย (Thailand) มีประชากร ประมาณ 69.5 ล้านคน 

          สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam) 87.9 ล้านคน
4.ประเทศใดในอาเซียนที่ไม่มีการผลิตข้าว

ที่มา th.wikipedia.org/wiki/การผลิตข้าวในประเทศไทย





การผลิตข้าวในประเทศไทย เป็นส่วนสำคัญของไทยซึ่งมีแรงงานทำงานอยู่เป็นจำนวนมาก
ประเทศไทยมีประเพณีการปลูกข้าวมาช้านาน มีที่ดินปลูกข้าวมากที่สุดเป็นอันดับที่ห้าของโลกและเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก[ประเทศไทยวางแผนที่จะเพิ่มที่ดินเพื่อผลิตข้าวให้ได้มากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่ 500,000  จากพื้นที่ปลูกข้าวที่มีอยู่แล้วเดิม 9.2 ล้านเฮกตาร์ คาดว่าการผลิตข้าวจะให้ผลผลิตราว 30 ล้านตันในปี พ.ศ. 2551 ข้าวสายพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดในประเทศคือ  ซึ่งเป็นข้าวประเภทที่มีคุณภาพสูง อย่างไรก็ตาม ข้าวหอมมะลิให้ผลผลิตน้อยกว่าข้าวประเภทอื่นอย่างมาก แต่โดยปกติแล้วสามารถขายได้ราคามากกว่าสองเท่าของข้าวสายพันธุ์อื่นในตลาดโลก


ประวัติศาสตร์

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

ก่อนหน้าคริสต์ทศวรรษ 1960 การผลิตข้าวในประเทศไทยประกอบด้วยชาวนาจำนวนมากที่ทำนาในพื้นที่ขนาดเล็กและผลิตข้าวในปริมาณที่เพียงพอสำหรับเลี้ยงตัวเองเท่านั้น (การเกษตรเพื่อยังชีพ) สามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นศูนย์กลางการผลิตข้าวในเวลานั้น การเกษตรเป็นส่วนสำคัญของสินค้าทั้งหมดที่ผลิตในประเทศไทยและพลเมืองไทยส่วนใหญ่เป็นชาวนา เหตุผลสำคัญที่พลเมืองไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรนั้นมีสองข้อ คือ ที่ดินกว้างใหญ่ไพศาลสามารถใช้ในการเกษตรได้และนโยบายเฉพาะของรัฐบาลที่จะถางพื้นที่ให้ได้มากขึ้นและปกป้องสิทธิชาวนา รัฐบาลจะช่วยให้ชาวนาได้มีที่ดินทำกินมากขึ้นและยังปกป้องจากเจ้าของที่ดินชนชั้นสูง จากที่ท่าของรัฐบาลทำให้พ่อค้าไม่สามารถควบคุมอุตสาหกรรมข้าวในประเทศไทยได้มากนัก มีข้อกังวลว่ารัฐบาลปกป้องชาวนาปัจเจกชนไม่มากเท่ากับผลผลิตโดยรวม ซึ่งส่งผลทำให้ประเทศไทยค่อนข้างพึ่งพาตนเอง ต่อต้านสิ่งประดิษฐ์ของรัฐบาล การเปลี่ยนแปลง และความเสมอภาค ชาวนาส่วนใหญ่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองและการแลกเปลี่ยนแรงงานระหว่างชาวนาถือเป็นเรื่องปกติ การผลิตข้าวโดยปกติแล้วจะไม่มากไปกว่าเท่าที่ชาวนานั้นต้องการบริโภคเพื่อมีชีวิตอยู่เท่านั้น

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

เมื่อยุโรปเริ่มต้นที่จะรวมตัวกันในหลายประเด็น รวมทั้งนโยบายการเกษตร (และการสนับสนุนราคา) ประเทศไทยจึงเริ่มที่จะปกป้องชาวนาข้าวน้อยลงและทำงานร่วมกับพ่อค้ามากขึ้น รัฐบาลเริ่มต้นกังวลเกี่ยวกับการผลิตที่เพิ่มขึ้นและแสวงผลประโยชน์จากส่วนเกินที่เพิ่มมากขึ้นจากอุตสาหกรรมข้าว ประเทศไทยหันไปยังพ่อค้าที่จะสร้างแรงกดดันนี้และให้ผลดีเยี่ยม

นโยบายของรัฐบาล

รัฐบาลต้องการสนับสนุนการเติบโตของเมือง โดยหนึ่งในวิธีการที่รัฐบาลดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวคือการตั้งภาษีอุตสาหกรรมข้าวและใช้เงินในเมืองใหญ่ ๆ ในความเป็นจริง ในช่วงปี พ.ศ. 2496 ภาษีข้าวคิดเป็นรายได้ 32% ของรัฐบาล รัฐบาลเป็นผู้ตั้งราคาผูกขาดสำหรับการส่งออก ซึ่งเพิ่มรายได้ภาษีและทำให้ราคาข้าวภายในประเทศต่ำ ผลกระทบโดยรวมคือประเภทของรายได้ถูกเปลี่ยนจากชาวนาไปยังรัฐบาลและผู้บริโภคในเมือง (ผู้ซื้อข้าว) นโยบายเรื่องข้าวเหล่านี้ถูกเรียกว่า "พรีเมียมข้าว" ซึ่งใช้มาจนถึง พ.ศ. 2528 จนกระทั่งสุดท้ายต้องยอมจำนนต่อแรงกดดันทางการเมืองการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เคยปกป้องชาวนาข้าวได้ทำให้อุตสาหกรรมข้าวห่างไกลจากค่านิยมความเสมอภาคที่เคยพอใจกันในหมู่ชาวนา ไปเป็นอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์สมัยใหม่ ซึ่งเน้นการสร้างผลกำไรให้ได้มากที่สุด
รัฐบาลไทยมีสิ่งจูงใจอย่างแข็งขันที่จะผลิตการผลิตข้าวและประสบความสำเร็จในแผนการส่วนใหญ่ รัฐบาลได้ลงทุนในระบบชลประทาน สาธารณูปโภคพื้นฐาน และโครงการสนับสนุนข้าวอื่น ๆ ยังได้สนับสนุนเงินทุนในการสร้างเขื่อน คลอง คูน้ำ และสาธารณูปโภคพื้นฐานอื่น ๆ ในโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ นโยบายเหล่านี้ช่วยทำให้ที่ดินปลูกข้าวเพิ่มขึ้นจาก 35 ล้านไร่ เป็น 59 ล้านไร่ ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึง 1980 ผลผลิตข้าวได้เพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าในแง่ของผลผลิตข้าวเปลือกทั้งหมด แม้ว่าผลผลิตข้าวของประเทศไทยจะไม่ได้เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่คาดหมายเอาไว้อยู่แล้ว แต่ผลผลิตข้าวได้เพิ่มขึ้นอย่างมากและต่อเนื่องนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960

ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น


ผลผลิตข้าวเปลือกต่อเฮกตาร์

ผลผลิตข้าวเปลือกทั้งหมด
การเพิ่มผลผลิตอย่างรวดเร็วนี้ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการเพิ่มกำลังผลิตข้าวในภาคอีสานของประเทศ ขณะที่ในอดีต ภาคกลางเป็นผู้ผลิตข้าวรายหลัก ภาคอีสานได้ก้าวเข้ามามีปริมาณผลผลิตตามทันภาคกลางอย่างรวดเร็ว ซึ่งบางส่วนเป็นเพราะระบบถนนใหม่ระหว่างภาคอีสานและเมืองที่เน้นการขนส่งทางเรือตามชายฝั่ง หมู่บ้านที่เน้นการผลิตข้าวเป็นสำคัญก็ได้เปลี่ยนแปลงจากการเกษตรที่เน้นเพื่อยังชีพไปสู่แรงงานที่เน้นค่าแรง (การแลกเปลี่ยนแรงงานก็ได้หายไปบางส่วนด้วยเช่นกัน) วัวและกระบือถูกแทนที่ด้วยรถแทรกเตอร์เพื่อทำงานในนาและเทคโนโลยีชลประทานได้รับการปรับปรุงในหมู่บ้านส่วนใหญ่ การปฏิวัติสีเขียวเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นเพื่อเผยแพร่ตามอุตสาหกรรมการเกษตรของโลก ชาวนาและพ่อค้าใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของข้าว สายพันธุ์ ปุ๋ย และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอื่น สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) เองก็ได้เผยแพร่ความรู้ เทคโนโลยี ข้าวสายพันธุ์ใหม่ ๆ และข้อมูลอื่น ๆ แก่ผู้ผลิตข้าวในประเทศไทย ผลผลิตข้าวต่อหน่วยพื้นที่ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1970 เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50

ผลกระทบต่อชาวนา

ขณะที่ข้อได้เปรียบทั้งหมดเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวโดยรวมในประเทศไทย ชาวนาจำนวนมากกลับไม่สามารถรักษาที่ดินที่พวกเขาใช้สำหรับเก็บเกี่ยวข้าวและจำเป็นต้องเช่าที่ดินทำกินเพื่อเลี้ยงตัวเองรัฐบาลมักจะคาดหวังรายได้จากภาษีอยู่เสมอ แม้ว่าปีนั้นจะเป็นปีที่ได้ผลผลิตน้อยก็ตาม ซึ่งเหตุผลนี้ได้ผลักดันให้ชาวนาจำนวนมากเข้าใกล้สภาวะขาดทุนมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีใหม่ ๆ ยังได้ขยับราคาต้นทุนในการทำนาสูงขึ้นและทำให้เป็นการยากขึ้นสำหรับชาวนาที่จะเป็นเจ้าของที่ดินและปลูกข้าว ชาวนาที่ค่อนข้างมีการผลิตที่ค่อนข้างใหญ่อยู่แล้ว หรือสามารถแบกรับค่าใช้จ่ายสารเคมีใหม่ ๆ สายพันธุ์ข้าว และแทรกเตอร์จะได้รับประโยชน์อย่างมาก ขณะที่ชาวนาธรรมดาต้องหันจากผู้ผลิตข้าวที่มีที่ดินเป็นของตัวเองไปเป็นแรงงานมนุษย์ในที่ดินของคนอื่น

ความสำคัญของข้าว

ข้าวมีบทบาทสำคัญหลายอย่างต่อสังคมไทยตั้งแต่เป็นอาหารไปจนถึงงานพื้นที่ปลูกข้าวคิดเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศและใช้แรงงานมากกว่าครึ่งของแรงงานทั้งประเทศ ข้าวเป็นหนึ่งในอาหารหลักและเป็นแหล่งโภชนาการสำหรับพลเมืองไทยส่วนใหญ่ ข้าวยังเป็นส่วนสำคัญในการส่งออกของไทย อุตสาหกรรมข้าวของไทยเผชิญกับภัยคุกคามใหญ่ไม่กี่ข้อ สุทัศน์ เศรษฐบุญสร้าง ภัยคุกคามใหญ่สามประการประกอบด้วย
(1) การแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น
(2) การแข่งขันกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นที่เพิ่มมูลค่าการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนค่าแรงงาน และ
(3) การเสื่อมคุณภาพของสภาพระบบนิเวศ
เมื่อการผลิตข้าวทั่วโลกแข่งขันกันมากขึ้น จึงทำให้เป็นการยากยิ่งขึ้นสำหรับประเทศไทยที่จะรักษาข้อได้เปรียบในการแข่งขันและขอบที่ผู้ผลิตข้าวไทยเคยชิน สำหรับภัยคุกคามที่สอง การพัฒนาประเทศให้ทันสมัยนำไปสู่การเพิ่มความมั่งคั่งและต้นทุนค่าแรงงาน ทำให้ชาวนาซึ่งใช้แรงงานมนุษย์ราคาถูกมีต้นทุนสูงขึ้น อย่างที่สาม ที่ดินขนาดใหญ่ซึ่งใช้ปลูกข้าวสามารถมีผลกระทบในทางที่ไม่ดีระยะยาวต่อผลผลิตต่อพื้นที่ได้
5.ประเทศใดในอาเซียนที่มีพื้นที่น้อยที่สุด

ที่มา http://www.aeckids.com






ขนาดประเทศอาเซียน กลับมาสู่การจัดอันดับอีกครั้ง วันนี้จะเป็นการจัดอันดับ ขนาดประเทศอาเซียน ประเทศที่มีพื้นที่เยอะที่สุด หรือ ใหญ่ที่สุดนั่นเอง ใครจะเป็นที่เท่าไหร่กันบ้าง โดยจะเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยนะครับ

ขนาดประเทศอาเซียน

อันดับ 1 ประเทศ อินโดนีเซีย มีพื้นที่  1,904,443 ตารางกิโลเมตร
อันดับ 2 ประเทศพม่ามีพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร
อันดับ 3 ประเทศไทยมีพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร
อันดับ 4 ประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่ 329,847 ตารางกิโลเมตร
อันดับ 5 ประเทศเวียดนามมีพื้นที่  331,690  ตารางกิโลเมตร
อันดับ 6 ประเทศฟิลิปปินส์มีพื้นที่ 299,404  ตารางกิโลเมตร
อันดับ 7 ประเทศลาวมีพื้นที่ 236,880 ตารางกิโลเมตร
อันดับ 8 ประเทศกัมพูชามีพื้นที่ 181,035  ตารางกิโลเมตร
อันดับ 9 ประเทศบรูไนดารุสซาลามมีพื้นที่ 5,770 ตารางกิโลเมตร
อันดับ 10 ประเทศสิงคโปร์มีพื้นที่ 710 ตารางกิโลเมตร

6.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีความหมายว่าอย่างอะไร

ที่มา http://aec.kapook.com







          สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) หรือ ประชาคมอาเซียน เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย  พม่า ลาว เวียดนาม  มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และ บรูไน  เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงให้อาเซียนมีความแข็งแกร่ง มีภูมิต้านทานที่ดี ในการรับมือกับปัญหาใหม่ ๆ  ระดับโลก
          ประชาคมอาเซียน เปรียบกับการเป็นครอบครัวเดียวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 พร้อมกับมีการร่วมลงนามในปฏิญญาให้เป็นประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายใน พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) พร้อมกับมีการแบ่งประชาคมย่อยออกเป็น 3 ประชาคม หรือ 3 เสาหลัก ได้แก่
            ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC)
            ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community – AEC)
            ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Asean Socio-Cultural Community – ASCC)
          ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คืออะไร หรือ AEC คืออะไร หลายคนอาจจะยังสงสัย วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับคำว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC กันค่ะ

 ความเป็นมาพอสังเขป 

          ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เกิดขึ้นมาจากการพัฒนาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เนื่องจากสมาชิกอาเซียนเห็นว่า ปัจจุบันอาเซียนมีจำนวนประเทศ 10 ประเทศ ประชากรเกือบ 500 ล้านคน ดังนั้นถือว่าเป็นเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ จึงควรร่วมมือกัน เพื่อทำให้อาเซียนมีความเข้มแข็งในด้านต่าง ๆ มากขึ้น เหตุนี้เอง อาเซียนจึงกลายสภาพเป็น เออีซี ในที่สุด โดยจะก่อตั้งเออีซีอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2558 เลื่อนเข้ามาจากเดิมคือ พ.ศ. 2563

          อย่างไรก็ตาม อนาคตข้างหน้า เออีซีมีแนวโน้มขยายเป็น อาเซียน +3 คือ เพิ่ม จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ก่อนที่จะเป็น อาเซียน +6 โดยเพิ่ม จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย
 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN  Economic  Community : AEC) 
          AEC หรือ ASEAN  Economic  Community ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับคู่ค้า และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระดับโลก รวมถึงมีการยกเว้นภาษีสินค้าบางชนิดให้กับประเทศสมาชิก ส่งเสริมให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง มั่นคง ประชาชนอยู่ดีกินดี
          โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน  ASEAN  Summit ครั้งที่  8  เมื่อ  4  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2545  ณ  กรุงพนมเปญ  ประเทศกัมพูชา ที่ได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทาง ได้มีการดำเนินงานที่แน่ชัดเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน  ได้แก่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  โดยจะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน  และจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า  บริการ  การลงทุน  เงินทุน  และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีสำหรับการตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้กำหนดให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558  ( ค.ศ. 2015)

 เป้าหมายสำคัญของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC  มี  4  ด้าน  คือ                                                                
          1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน  (Single Market and Production Base)   
            เพื่อเคลื่อนย้ายสินค้า  บริการ  ลงทุน  แรงงานฝีมือ  เงินทุน  อย่างเสรี
            ส่วนนี้ จริงๆ เป็นการดำเนินตามพันธกรณีที่ได้ตกลงและดำเนินการมากันอยู่แล้ว ทั้ง
          * AFTA (ASEAN Free Trade Area)  เริ่มปี  2535 (1992)
          * AFAS (ASEAN Framework Agreement on  Services)  กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ ลงนามปี  2538  (1995)  ได้เจรจาเปิดเสรีเป็นรอบๆ  เจรจาไปแล้ว  5  รอบ
          * AIA  (ASEAN Investment Area)  กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ  ลงนามและมีผลตั้งแต่ 2541  (1998)
          2. สร้างขีดความสามามารถทางเศรษฐกิจ (High Competitive Economic Region)
            ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบาย ที่ช่วยการรวมกลุ่ม  เช่น นโยบายการแข่งขัน นโยบายภาษี , ทรัพย์สินทางปัญญา, พัฒนาโครงการสร้างพื้นฐาน
            ร่วมกันดำเนินการโดยแลกเปลี่ยนข้อมูล  ฝึกอบรมบุคคลากรร่วมกัน
          3. สร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Equitable Economic Development)
            สนับสนุนการพัฒนา SMES
            สร้างขีดความสามารถผ่านโครงการที่มีอยู่แล้ว
          4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก (Fully  Integrated  into  Global Economy)
            เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจอาเซียนกับนอกภูมิภาค เช่น  ทำ  FTA

 กรอบความร่วมมือ 

          สำหรับกรอบความร่วมมือ ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนเมื่อวันที่ 21-22 กันยายน 2547 ที่กรุงเทพฯ สามารถหาข้อสรุปในสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรการร่วมที่จะใช้กับการรวมกลุ่มสินค้าและบริการ  ได้แก่ การเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การอำนวยความสะดวกด้านการค้า และการลงทุนและการส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ดังนี้




          (1) การค้าสินค้า - จะเร่งลดภาษีสินค้าใน Priority Sectors (เกษตร/ประมง/ผลิตภัณฑ์ไม้/ผลิตภัณฑ์ยาง/สิ่งทอ/ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์/เทคโนโลยีสารสนเทศ/สาขาสุขภาพ) เป็น 0% เร็วขึ้นจากกรอบ AFTA เดิม 3 ปี คือ จาก 2010 เป็นปี 2007 สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และ ปี 2015 เป็น 2012 สำหรับประเทศ CLMV โดยได้กำหนดเพดานสำหรับสินค้าทั้งหมดใน Priority Sectors ไม่ต้องการเร่งลดภาษี (Negative List) ไว้ที่ 15%

          (2) การค้าบริการ - จะเร่งเปิดเสรีสาขาบริการใน Priority Sectors (สาขาสุขภาพ, e-ASEAN, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ) ภายในปี ค.ศ. 2010 ทั้งนี้ ให้ใช้ ASEAN-X formula ได้

          (3) การลงทุน - จะเร่งเปิดการลงทุนในรายการสงวน (Sensitive List) ภายในปี 2010 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ปี ค.ศ. 2013 สำหรับเวียดนามและ 2015 สำหรับกัมพูชา ลาว และพม่า ทั้งนี้ ให้ใช้ ASEAN-X formula ได้ และส่งเสริมการผลิตในอาเซียนโดยการจัดตั้งเครือข่าย ASEAN free trade zones เพื่อส่งเสริมการซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตในอาเซียน  (outsourcing) และดำเนินมาตรการร่วมเพื่อดึงดูด FDI

          (4) การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน - ซึ่งประกอบด้วยเรื่องต่างๆ คือ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากร มาตรฐาน (standard and conformance) การอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง และ logistics service สำหรับการขนส่ง การอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวในอาเซียน และ การเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบวิชาชีพ และ แรงงานมีฝีมือ

          (5) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่น ๆ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มรายสาขาของอาเซียน 11 สาขากำหนดมาตรการร่วม ซึ่งคาบเกี่ยวกับทุกสาขาเช่นเดียวกับในกรอบความตกลงฯ และมาตรการเฉพาะสำหรับการรวมกลุ่มแต่ละสาขานั้นๆ โดยรวมอยู่ในแผนการรวมกลุ่ม (Road map) ซึ่งผนวกอยู่กับพิธีสารฯ

          ขณะที่ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน (Framework Agreement for the Integration of the Priority Sectors)  และรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มรายสาขาของ อาเซียน 11 ฉบับ (ASEAN Sectoral Integration Protocol) ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2547

          ทั้งนี้ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ทุกประเทศย้ำความสำคัญของการดำเนินการต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดการรวมตัวของอาเซียนให้เร็ว ขึ้น โดยอาจให้สำเร็จภายในปี 2555 (ค.ศ. 2012) และได้เสนอแนวทางต่างๆ เพื่อช่วยเร่งรัดการรวมตัว เช่น การใช้วิธีการ Two plus X ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เคยเสนอความจำเป็น และแนวทางนี้มาแล้วเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่บาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ก็ได้สนับสนุนข้อเสนอแนะของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีของไทย ที่ให้เร่งรัดการจัดตั้ง AEC ด้วย

 การรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขานำร่อง 

          การรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขานำร่อง ถือว่าเป็นการเปิดเสรีด้านการค้าและบริการ เพื่อส่งเสริมการแบ่งงานกันผลิตสินค้าและบริการภายในอาเซียนด้วยกัน โดยจะเน้นใช้วัตถุดิบภายในอาเซียนเป็นหลัก ตามความถนัด เนื่องจากแต่ละประเทศมีวัตถุดิบที่ไม่เหมือนกัน ถ้าจะให้ผลิตทุกอย่าง จะเป็นการเพิ่มต้นทุนสินค้าแบบเสียเปล่า

 สำหรับ 11 สาขานำร่องมีดังนี้

          1. สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร
          2. สาขาประมง
          3. สาขาผลิตภัณฑ์ยาง
          4. สาขาสิ่งทอ
          5. สาขายานยนต์
          6. สาขาผลิตภัณฑ์ไม้
          7. สาขาอิเล็กทรอนิกส์
          8. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
          9. สาขาสุขภาพ
          10. สาขาท่องเที่ยว
          11. สาขาการบิน

          อย่างไรก็ตาม ภายหลังได้เพิ่มสาขาที่ 12 ได้แก่ สาขาโลจิสติกส์ เพื่อทำให้การขนส่งวัตถุดิบต่าง ๆ ทำได้สะดวกมากขึ้น

 เมื่อแบ่งทั้ง 12 สาขา ตามประเทศที่รับผิดชอบ สามารถแบ่งได้ ดังนี้

          1. พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร และสาขาประมง
          2. มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
          3. อินโดนีเซีย สาขายานยนต์ และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
          4. ฟิลิปปินส์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์
          5. สิงคโปร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
          6. ไทย สาขาการท่องเที่ยวและสาขาการบิน
          7. เวียดนาม สาขาโลจิสติกส์



 ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC 
          1. ขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า  จาการยกเลิกอุปสรรคภาษีและที่มิใช่ภาษีจะเปิดโอกาสให้สินค้า  เคลื่อนย้ายเสรี
          2. คาดว่า  การส่งออกไทยไปอาเซียนจะสามารถขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 18 - 20%  ต่อปี
          3. เปิดโอกาสการค้าบริการ  ในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง  เช่น  ท่องเที่ยว  โรงแรมและร้านอาหาร  สุขภาพ  ทำให้ไทยมีรายได้จากการค้าบริการไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น
          4. สร้างเสริมโอกาสการลงทุน เมื่อมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้เสรียิ่งขึ้น  อุปสรรคการลงทุนระหว่างอาเซียน จะลดลง  อาเซียนจะเป็นเขตการลงทุนที่น่าสนใจทัดเทียมจีนและอินเดีย
          5. เพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย เมื่อมีการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน/เป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับอาเซียนอื่น ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (Comparative Advantage)  และลดต้นทุนการผลิต
          6. เพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก  สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาคมโลก
          7. ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ  ผลการศึกษา   แสดงว่า AEC  จะทำให้รายได้ที่แท้จริงของอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3  หรือคิดเป็นมูลค่า 69  พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

 ผลกระทบของประเทศไทยจากการเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC 
          1. การเปิดตลาดเสรีการค้าและบริการย่อมจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำ
          2. อุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในประเทศต้องเร่งปรับตัว

 ข้อเสนอแนะในการเตรียมตัวของไทยสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC 
          แนวทางที่ประเทศไทยควรเตรียมพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากมีการรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC คือ ภาครัฐเองไม่ได้นิ่งนอนใจต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น  โดยเฉพาะกิจการ/อุตสาหกรรมที่ไม่มีความ  พร้อมในการแข่งขัน  โดยแผนงานรองรับผลกระทบที่ได้มีการดำเนินงานมาแล้ว  ได้แก่
          1. การจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการ  ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี ทางการค้า (ตามมติคณะรัฐมนตรี  เมื่อวันที่  8  พฤษภาคม  2550)  เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผลิต และผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูป  สินค้าอุตสาหกรรม  และบริการ  ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าให้สามารถปรับตัวหรือปรับเปลี่ยนให้สามารถแข่งขันได้
          2. มาตรการป้องกันผลกระทบ  ก่อนหน้านี้  กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอจัดทำกฎหมายซึ่งได้ผ่านสภานิติบัญญัติออกมาเป็น  พรบ.  มาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard  Measure)  ซึ่งหากการดำเนินการตาม AEC  Blueprint  ก่อให้เกิดผลกระทบก็สามารถนำกฎหมายนี้มาใช้ได้
          3. การจัดตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการตามแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (ตามคำสั่ง กนศ. ที่ 1/2550  ลงวันที่  14  มิถุนายน  2550)  เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนงานและเตรียมการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในการดำเนินงานไปสู่การเป็น AEC โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน